การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality Technology)
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) ในรายวิชาประวัติศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality Technology)
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) ในรายวิชาประวัติศาสตร์
วิชาสังคมศึกษา และประวัติศาสตร์คือส่วนหนึ่งของกันและกัน เนื่องจากการศึกษาประวัติศาสตร์ หากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิประเทศ และตำแหน่งที่ตั้งของสาระภูมิศาสตร์ นักเรียนก็จะไม่สามารถเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางภูมิศาสตร์นั้น ๆ ได้ หรือหากศึกษาประวัติศาสตร์ โดยขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนา ก็จะไม่สามารถทำความเข้าใจหลักคิดของผู้คนในอดีตได้ เนื่องจากเนื้อหาของวิชาสังคมคือสิ่งที่อยู่รอบตัว และมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นการเติมโตท่ามกลางสังคมจึงเป็นสิ่งที่ปรกติสำหรับสังคมมนุษย์ หากเพียงแตกต่างกันในส่วนของประสบการณ์ของชีวิต เนื่องจากความแตกต่างทางชนชั้น ฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางปัญญาที่มาจากพื้นฐานทางประสบการณ์ของนักเรียน ซึ่งแน่นอนว่านักเรียนที่มีโอกาสในการเดินทาง พบเจอสังคมที่แตกต่างหลากหลายย่อมอาจมีมุมมองความคิดที่กว้างกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจอยากในระดับรากหญ้าของสังคม ซึ่งนักเรียนโรงเรียนบ้านเวียงชัยส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวต่ำกว่าค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของประเทศ จึงมีข้อจำกัดทางการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ส่งผลให้มนุษย์ไม่สามารถเดินทางได้ปรกติอย่างยุคโลกาภิวัตน์ดังเช่นเคย ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดการท่องเที่ยวออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงได้จากสถานที่ส่วนบุคคล โดยการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง อย่างเช่น การเข้าชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ซึ่งทำให้ผู้เข้าชมสามารถมองเห็นภาพของสถานที่ต่าง ๆ ได้ตามความเป็นจริง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์ และเพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาในรายวิชาสังคมได้ง่ายขึ้นผ่านทางรูปถ่าย ร่วมกับการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา เพื่อกระตุ้นประสบการณ์เดิมของนักเรียนเชื่อมโยงเข้าสู่ชั้นเรียน กระตุ้นให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าตอบคำถาม พร้อมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้อยู่ในระดับที่สูงมากยิ่งขึ้น และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้ดีขึ้น
๒. จุดประสงค์ เป้าหมาย
๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามลักษณะของหลักฐานได้
๒. นักเรียนสามารถเลือกรับสื่อจากการวิเคราะห์หลักฐาน หรือข้อมูลที่พบได้
๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑) ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจ
ให้ผู้เรียนได้อ่านทำความเข้าใจกับเนื้อหาในกรณศึกษาจับประเด็นสำคัญให้ได้ และเข้าใจความสัมพันธ์ของประเด็นต่าง ๆ
๒) ขั้นวินิจฉัย และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
ผู้เรียนสามารถระบุปัญหาต่าง ๆ ที่ได้จากกรณศึกษาพิจารณาดูสาเหตุ หรือความสัมพันธ์ของ ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
๓) ขั้นเสนอแนวทางการแก้ปัญหา
สามารถเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย พิจารณาทางเลือกอย่างรอบคอบ และจัดลำดับความสำคัญของวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ
๔) ขั้นตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ปัญหา
โดยคำนึงถึงผลดีผลเสีย และผลกระทบของแนวทางในการแก้ปัญหา ประเมิน และตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
๕) ขั้นสรุปและนำเสนอ
ผู้เรียนสามารถหาข้อสรุปจากกรณศึกษา และนำเสนอผลที่ได้จากกรณีศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
๖) ขั้นประเมินผล
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การตรวจผลงานการทำแบบทดสอบ เป็นต้น (ปรียา สมพืช, ๒๕๕๙ อ้างถึงใน ทิศนา แขมณี, ๒๕๕๑)
๔. ผลการดำเนินงาน
๔.๑ เชิงคุณภาพ
นักเรียนสามารถแบ่งแยกประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้โดยสามารถบอกเว่าหลักฐานใดจัดอยู่ในหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานใดเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นรายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งสามารถยกตัวอย่างของประเภทหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง ด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยการสังเกต และตั้งคำถาม
๔.๒ เชิงปริมาณ
๑) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ สามารถยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรองได้ร้อยละ ๘๐
๒) นักเรียนสามารถให้เหตุผลประกอบการวิเคราะห์ตัวอย่างหลักฐานที่พบได้ร้อยละ ๗๐
๕. การเผยแพร่ผลงาน
๑) ได้เผยแพร่แหล่งข้อมูลที่เป็นการจัดนิทรรศการเสมือนจริง และพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงให้แก่ผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามความสนใจ
๒) แนะนำแหล่งการใช้สื่อการสอนให้แก่เพื่อนร่วมวิชาชีพ
๖. ปัจจัยความสำเร็จ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๑) ผู้อำนวยการให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) โดยส่งเสริมให้คณะครู และบุคลากรเข้าร่วมการอบรมพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ
๒) ทางโรงเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งคอมพิวเตอร์ประจำห้องเรียน ซึ่งช่วยให้การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
๓) นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น
๔) นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
๗. ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานครั้งต่อไป
๗.๑ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
๑) นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงการใช้สื่อจากเทคโนยีเพิ่มเติม เพื่อการสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เนื่องจากสื่อเหล่านี้มีความเป็นรูปธรรม ซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
๒) นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และกล้าตอบคำถามมากขึ้นด้วยการทำกิจกรรม ผ่านการเสริมแรงทางบวกจากครูผู้สอน
๗.๒ ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
๑) ใช้การตั้งคำถามที่กระตุ้นความอยากรู้ของผู้เรียน ที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าได้ และเป็นคำถามที่นำไปสู่กระบวนการคิดขั้นสูง
๒) ควรใช้กิจกรรมอื่นร่วมด้วย อย่างเช่น การใช้เกม ร่วมกับการจัดกลุ่มของผู้เรียนหรือการจับคู่เรียน เพื่อให้สมาชิกภายในชั้นเกิดปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
๓) การใช้กรณีศึกษาอาจสำรวจปัญหา หรือสำรวจจากความสนใจของผู้เรียน เพื่อนำกรณีที่นักเรียนสนใจมาศึกษา เพื่อจุดประกายความคิดของนักเรียนได้มาขึ้น
https://active-learning.thailandpod.org/learning-activities/case-studies
อ้างอิง
ปรียา สมพืช. (๒๕๕๙). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา ORGANIZED ACTIVE LEARNING BY INSTRUCTIONAL MODEL WITH CASE-BASED. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ๑๑(๒), ๒๖๕.
สื่อการสอน